วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Maroon 5

Maroon 5 เป็นวงดนตรีแนวป๊อปร็อกสัญชาติอเมริกันจากลอสแอนเจลิส แคลิฟอร์เนีย ในขณะที่พวกเขาเรียนอยู่โรงเรียนมัธยมอดัม เลวีน ตำแหน่งกีต้าร์และร้องนำ เจสซี คาร์ไมเคิล ตำแหน่งคีย์บอร์ด มิคกี้ แมดเดน ตำแหน่งกีต้าร์เบส และไรอัน ดูซิค ตำแหน่งกลอง ได้ก่อตั้งวงดนตรีแนวการาจร็อกในชื่อ คาราส์ฟลาวเออร์ส (Kara’s Flowers) และออกอัลบั้ม 1 อัลบั้มชื่อ เดอะโฟร์ธเวิลด์ (The Fourth World) ในปี ค.ศ. 1997 เพียงช่วงเวลาไม่นานหลังจากพวกเขากลับมารวมตัวกับเจมส์ วาเลนไทน์ ตำแหน่งกีต้าร์ ที่ชักนำให้วงเปลี่ยนแนวดนตรีไปเป็นแนวป๊อปมากยิ่งขึ้นในชื่อ Maroon 5 ในปี ค.ศ. 2004 พวกเขาออกอัลบั้มเปิดตัวชุดแรก ซองส์อะเบาต์เจน (Songs About Jane) ที่มีเพลงฮิต 4 เพลงได้แก่ “Harder to Breathe”, “This Love”, “She Will Be Loved” และ “Sunday Morning” อัลบั้มนี้ยังประสบความสำเร็จในชาร์ตชื่อดังมากมาย ได้รับรางวัล RIAA จากหลายประเทศทั่วโลก

Kara's+Flowers+-+The+Fourth+World+-+PRESS+PACK-497895

เพื่อโปรโมตอัลบั้ม ซองส์อะเบาต์เจน มารูนไฟฟ์ได้ออกทัวร์ตลอดปี ค.ศ. 2003 – 2005 และเกิดอัลบั้มการแสดงสด 2 อัลบั้มในระหว่างนั้น มารูนไฟฟ์ได้รับรางวัลแกรมมี สาขาศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม (Grammy Award for Best New Artist) ในปี ค.ศ. 2005 ต่อมาดูซิคได้ลาออกจากวงในเดือนกันยายน ค.ศ. 2006 โดยให้เหตุผลว่าได้รับบาดเจ็บจากการทัวร์คอนเสิร์ตอย่างต่อเนื่อง และตำแหน่งถูกแทนที่โดย แมตต์ ฟลินน์ (Matt Flynn) สตูดิโออัลบั้มชุดที่ 2 ของมารูนไฟฟ์ในชื่อ อิตโวนท์บีซูนบีฟอร์ลอง (It Won’t Be Soon Before Long) ออกมาในปี ค.ศ. 2007 ด้วยซิงเกิล “Makes Me Wonder” ซึ่งเป็นซิงเกิลแรกที่ขึ้นถึงอันดับ 1 ของชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100และยังมีซิงเกิลต่อมาเช่น “Won’t Go Home Without You” และ “Wake Up Call” มารูนไฟฟ์แสดงคอนเสิร์ตในการทัวร์ 2 ครั้งระหว่างเดือนมิถุนายน และพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 ในระหว่างนั้นก็มัอัลบั้มรวมเพลงออกมาในชื่อ เดอะบีไซด์คอลเลคชัน (The B-Side Collection)

Maroon-5-maroon-5-50772_1280_800

ในปี ค.ศ. 2008 มีอัลบั้มการแสดงสด 2 อัลบั้มและอัลบั้มรีมิกซ์ 1 อัลบั้มออกมา สตูดิโออัลบั้มชุดที่ 3 ในชื่อ แฮนด์สออล
โอเวอร์ (Hands All Over) ก็ออกมาในสหรัฐอเมริกาในวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 2010 ตั้งแต่เปิดตัวใน ค.ศ. 2002 มารูนไฟฟ์ได้ขายอัลบั้มไปมากกว่า 10 ล้านตลับในสหรัฐอเมริกา
ซิงเกิลที่ได้รับความนิยมที่สุดของมารูนไฟฟ์ ซึ่งนับถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2012 ขายได้มากกว่า 8 ล้านตลับทั่วโลก ได้แก่เพลง “Moves Like Jagger” ซึ่งร้องร่วมโดย คริสตินา อากีเลรา กลายเป็นหนึ่งในซิลเกิลที่ขายดีที่สุดตลอดกาล
ใน วันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 2012 มารูนไฟฟ์ประกาศว่าสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 4 มีชื่อว่า โอเวอร์เอกซ์โพสท์ (Overexposed) ออกมาในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 2012ซิงเกิลแรกได้แก่เพลง “Payphone” ซึ่งร้องร่วมโดยนักร้องแร็ป วิซ คาลิฟา เปิดตัวในชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 ที่อันดับ 3 และขึ้นได้ถึงอันดับที่ 2 ในที่สุด ซิงเกิลที่ 2 ชื่อ “One More Night” กลายเป็นซิงเกิลลำดับ 3 ของพวกเขาที่ขึ้นอันดับ 1 ในชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 ได้สำเร็จ ในวันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 2012 ระหว่างทัวร์อัลบั้ม Overexposed ในแอฟริกาใต้นั้น มารูนไฟฟ์แสดงดนตรีต่อหน้าผู้คน 30,000 คนที่ Arena Anhembi เซาเปาโล ประเทศบราซิล ซึ่งเลวีนกล่าวว่าเป็นคอนเสิร์ตสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดของวงจนถึงทุกวันนี้



ปัจจุบันปี 2015 เพลงฮิต Maroom 5  ต้องเพลงนี้เท่านั้น Sugar ปล่อยให้ชมในYoutube วันที่ 14 มกราคม 2015 เพียงแค่สิ้นเดือนมกราคม มียอดผู้เข้าชมไปแล้ว 85,197,255 คน

อ้างอิงจาก

LEGO



LEGO ถือกำเนิดขึ้นจากชายคนหนึ่งที่มีชื่อว่า Ole Kirk Christiansen เขาเป็นช่างไม้ผีมือระดับปรมาจารย์ อาศัยอยู่ในเมืองบิลลุนด์ (Billund) ประเทศเดนมาร์ก ในปี ค.ศ. 1932 ได้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง ทำให้ธุรกิจของเขาได้รับผลกระทบไปด้วย ทำให้เขาตัดสินใจที่จะผลิตสินค้าหลายชนิดมาจำหน่าย เช่น เครื่องใช้ภายในบ้าน พวกบันได (Stepladders) ที่รองสำหรับรีดผ้า (Ironing Boards) เก้าอี้นั่งเล่นตัวเล็กๆ (Stools) และของเล่นไม้ (Wooden Toys) อาจจะกล่าวได้ว่าหากไม่เกิดวิกฤตการทางเศรษฐกิจในครั้งนั้น Ole Kirk Christiansen คงจะมีอาชีพเป็นเพียงช่างไม้ และตัวต่อ LEGO คงจะไม่ได้เกิดขึ้นมาบนโลกใบนี้


Ole Kirk Christiansen - ผู้ที่ให้กำเนิด LEGO

ในปี ค.ศ. 1934 เขาได้จัดให้มีการแข่งขันตั้งชื่อบริษัทขึ้น โดยรางวัลสำหรับผู้ชนะก็คือ ไวน์หนึ่งขวด! และผู้ที่ชนะก็คือตัวเขานั่นเอง เขาได้นำชื่อ LEGO มาใช้เป็นชื่อบริษัทและชื่อสินค้าที่ผลิตออกมาจำหน่าย ซึ่งคำว่า LEGO มาจากรากศัพท์ภาษาเดนมาร์กว่า "LEg GOdt" มีความหมายว่า “Play Well” หรือแปลสนุกๆ ได้ว่า “เล่นได้เล่นดี” ในขณะที่คำนี้มีความหมายในภาษาลาตินว่า “I assemble” หรือ“I put together” แปลได้ว่า “ประกอบหรือวางเข้าด้วยกัน


ของเล่นไม้ที่ผลิตและจำหน่ายในสมัยนั้น

นอกจากนี้ Ole Kirk Christiansen ยังเป็นคนที่ใส่ใจและไม่เคยละเลยต่อคุณภาพของสินค้า เขาได้ติดป้ายคติพจน์สำหรับการทำงานไว้ในโรงงานว่า “Only the best is good enough" หรือแปลได้ว่า “ต้องดีที่สุดเท่านั้น ถึงจะดีพอ” (คติพจน์นี้ยังคงใช้ต่อมาจนถึงทุกวันนี้) จะเห็นได้จากของเล่นไม้ทุกชิ้นที่เขาผลิตจะมีความประณีตและมีการเคลือบสีถึง 3 ชั้น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดาสำหรับในยุคสมัยนั้น ครั้งหนึ่ง ลูกชายของเขา Godtfred Kirk Christiansen ที่เริ่มทำงานในบริษัท LEGO ตั้งแต่อายุเพียง 12 ปี ต้องการที่จะประหยัดเงินของบริษัท เลยทำการเคลือบสีของเล่นเพียงแค่ 2 ชั้นเท่านั้น Ole Kirk Christiansen ได้สั่งให้ลูกชายของเขากลับไปทำการเคลือบสีเพิ่ม และบรรจุใส่กล่องใหม่ โดยต้องทำคนเดียวเท่านั้น


Godtfred Kirk Christiansen - คนทางซ้ายมือ

ธุรกิจผลิตของเล่นเล็กๆ ของเขาที่ได้รับความนิยมอย่างมาก แต่กลับมีคนงานอยู่เพียงแค่ไม่กี่คนเท่านั้น อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 1942 ได้เกิดเหตุการณ์ประท้วงอย่างรุนแรง ทำให้โรงงานของเขาถูกเผาราบเป็นหน้ากอง แต่ด้วยความที่เขาเป็นคนไม่ยอมแพ้ เขาได้เริ่มสร้างโรงงานขึ้นมาใหม่หลังจากนั้นไม่นาน

ในปี ค.ศ. 1947 LEGO เป็นบริษัทแรกในเดนมาร์กที่ซื้อเครื่องฉีดพลาสติกมาใช้ในการผลิตของเล่น หลังจากนั้น 2 ปี (ปี ค.ศ. 1949) LEGO ได้ผลิตของเล่นพลาสติกและของเล่นไม้ออกมาถึงเกือบ 200 ชนิด รวมถึงได้มีการผลิตของเล่นที่ถือว่าเป็นต้นแบบของตัวต่อ LEGO ขึ้น ชื่อว่า “Automatic Binding Bricks” แต่จำหน่ายเฉพาะในเดนมาร์กเท่านั้น


Automatic Binding Bricks - ต้นแบบของตัวต่อเลโก้ในปัจจุบัน

ในปี ค.ศ. 1950 ลูกชายของเขา Godtfred Kirk Christiansen ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น Junior Vice President ในขณะที่มีอายุเพียง 30 ปีเท่านั้น หนึ่งปีหลังจากนั้น (ปี ค.ศ. 1951) ของเล่นพลาสติกมีสัดส่วนการผลิตถึงครึ่งหนึ่งของกำลังการผลิตทั้งหมด ถือเป็นการส่งสัญญาณการเปลี่ยนแปลงจากการผลิตของเล่นไม้ไปสู่การผลิตของเล่นพลาสติกที่ได้รับความนิยมมากขึ้น 

ในปี ค.ศ. 1953 ได้มีการเปลี่ยนชื่อ “Automatic Binding Bricks” ไปเป็น "LEGO Mursten" หรือ "LEGO Bricks" (ตัวต่อเลโก้) อย่างที่เราคุ้นเคยกันทุกวันนี้ และในวันที่ 1 พฤษภาคม 1954 ชื่อ LEGO ก็ได้รับการจดทะเบียนอย่างเป็นทางการในเดนมาร์ก

ในปี ค.ศ. 1955 LEGO ได้จำหน่ายของเล่นชื่อ "LEGO System of Play" มีทั้งหมด 28 ชุด กับรถแบบต่างๆ อีก 8 คัน ในชุดจะประกอบด้วย อาคาร บ้าน ต้นไม้ รถยนต์ ป้ายสัญลักษณ์จราจรและอื่นๆ ของเล่นชุดนี้ถือเป็นการปฏิวัติวงการของเล่นเลยทีเดียวเพราะผู้เล่นสามารถสร้างสรรค์การเล่นได้ตามจินตนาการ โดยไม่ถูกจำกัดให้ต้องทำตามคู่มือเท่านั้น 


LEGO System of Play

ในปี ค.ศ. 1957 ได้มีการคิดค้นระบบการเชื่อมต่อด้วยปุ่มและท่อสำหรับตัวต่อเลโก้ (The Stud-and-Tube Coupling System) ลองนึกถึงภาพของตัวต่อเลโก้ที่จะมีปุ่มอยู่ด้านบน (Stud) และมีทรงกระบอกคล้ายท่ออยู่ด้านล่าง (Tube) และสามารถนำแต่ละอันมาต่อเข้าด้วยกันได้ (Coupling) หลังจากนั้นอีก 1 ปี (ปี ค.ศ. 1958) ตัวต่อเลโก้อย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้ก็ได้รับการจดสิทธิบัตรและนำออกมาจำหน่ายตามท้องตลาด อย่างไรก็ตามในปีเดียวกันนี้เอง ผู้ก่อตั้งและสร้างตำนาน LEGO Ole Kirk Christiansen ได้เสียชีวิตลง ทำให้ลูกชาย Godtfred Kirk Christiansen ต้องขึ้นดำรงตำแหน่งแทน 


สิทธิบัตรของ LEGO

ในปี ค.ศ. 1960 โกดังเก็บของเล่นไม้เกิดไฟไหม้เสียหายอย่างหนัก กอปรกับการที่ของเล่นพลาสติกได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก ทำให้บริษัทตัดสินใจที่จะหยุดการผลิตของเล่นไม้และมุ่งเน้นแต่ของเล่นพลาสติกแทน

ในปี ค.ศ. 1963 บริษัท LEGO ได้นำวัสดุชนิดใหม่ที่ดีกว่าคือ ABS (Acrylnitrile Butadiene Styrene) มาใช้แทนวัสดุชนิดเดิมคือ Cellulose Acetate ในการผลิตตัวต่อเลโก้ วัสดุใหม่นี้มีความคงทนมากกว่า มีสีสันมากกว่า ผลิตได้ไวกว่า และทำให้การผลิตมีความแม่นยำเพิ่มมากขึ้นถึง 0.005 มม.

ในปี ค.ศ. 1967 LEGO ได้ออกแบรนด์ใหม่ชื่อว่า The DUPLO® brick เป็นตัวต่อเลโก้ที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ 8 เท่า (กว้างกว่า 2 เท่า ยาวกว่า 2 เท่า และสูงกว่า 2 เท่า) สำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี เพื่อป้องกันอุบัติเหตุเด็กกลืนตัวต่อเลโก้ และในปีถัดมา (ปี ค.ศ. 1968) ได้มีการเปิด LEGOLAND® Billund ขึ้นในวันที่ 7 มิถุนายน 1968 


เปรียบเทียบขนาด LEGO Brick ปกติกับ Duplo Brick 

ในปี ค.ศ. 1973 ได้มีการนำเอาโลโก้ใหม่ของ LEGO มาใช้แทนทุกๆ โลโก้เดิมของ LEGO โดยสินค้าทุกประเภทของบริษัท LEGO จะใช้โลโก้อันใหม่นี้อันเดียวเพื่อความเป็นเอกภาพ 


โลโก้ของ LEGO ที่เราคุ้นเคยกันและใช้มาจนถึงปัจจุบัน

ในปี ค.ศ. 1977 LEGO ได้ออก LEGO TECHNIC เป็นโมเดลที่มีกลไกและมอเตอร์ สำหรับเด็กที่โตขึ้นมา และในปีเดียวกันนี้ Kjeld Kirk Kristiansen* ทายาทรุ่นที่ 3 ได้เข้าร่วมทำงานกับทีมบริหารของ The LEGO Group และ 2 ปีต่อมา (ปี ค.ศ. 1979) เขาก็ได้รับการแต่งตั้งเป็น President และ Chief Executive Officer ของ INTERLEGO A/S

*ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่านามสกุลของ Kjeld Kirk Kristiansen จะสะกดด้วยตัว K แตกต่างจากพ่อ Godtfred Kirk Christiansenและปู่ Ole Kirk Christiansen ที่สะกดด้วยตัว C สาเหตุก็เพราะบาทหลวงได้สะกดชื่อเขาผิดตอนที่ใส่ชื่อไว้ในบันทึกของโบสถ์


Kjeld Kirk Kristiansen

ในปี ค.ศ. 1986 Godfred Kirk Christiansen ได้ลาออกจากการเป็นประธานกรรมการของ LEGO System A/S และ LEGO Overseas และให้ Kjeld Kirk Kristiansen ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน

ในปี ค.ศ. 1990 The LEGO Group เป็นบริษัทผลิตของเล่นเพียงแห่งเดียวในยุโรปที่ติด 1 ใน 10 ผู้ผลิตของเล่นที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ที่เหลือเป็นบริษัทของอเมริกาและญี่ปุ่น)

ในปี ค.ศ. 1995 Godfred Kirk Christiansen ได้เสียชีวิตลงในวันที่ 13 กรกฎาคม 1995

ในปี ค.ศ. 1996 ได้มีการเปิดเว็บไซต์ www.lego.com และในวันที่ 29 มีนาคม ปีเดียวกัน ได้มีการเปิด LEGOLAND Windsorที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งถือเป็นเลโก้แลนด์แห่งแรกที่อยู่นอกประเทศเดนมาร์ก

ในปี ค.ศ. 1999 ตัวต่อเลโก้ (LEGO Bricks) ได้รับการเสนอชื่อเป็นหนึ่งใน ผลิตภัณฑ์แห่งศตวรรษ (Products of the Century) โดยนิตยสารฟอร์จูน (Fortune Magazine)

ในปี ค.ศ. 2003 The LEGO Group ประกาศผลกำไรที่มหาศาลถึง 1.4 พันล้าน DKK (เงินสกุลเดนมาร์ก) 

จนถึง ณ ปัจจุบัน LEGO Group ยังคงเป็นบริษัทที่ดำเนินงานและเป็นเจ้าของโดยครอบครัว Kirk Christiansen 

ขอปิดท้ายด้วยรูปครอบครัว Kirk Christiansen ผู้สร้างตำนาน LEGO 


อ้างอิงจาก :

http://www.thaibrickclub.com/forum/index.php?topic=19.0
http://www.komchadluek.net/news/ent/138120
http://www.raisegeniusschool.com/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B9%89/




วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

FOOTBALL


จุดเริ่มต้นของฟุตบอล

              ฟุตบอลถือกำเนิดครั้งแรกที่ประเทศกรีกโบราณซึ่งเรียกว่า "อีพิสไครอส" (Episkiyros)  ประเทศแถบยุโรปส่วนใหญ่เรียกฟุตบอลว่า "ซ็อคเกอร์" (Soccer) เพราะคำว่าฟุตบอลไปซ้ำกับคำว่า เมริกันฟุตบอล และในสมัยโรมัน ชาวโรมันได้นำกระเพาะปัสสาวะวัว (Ox's Bladder) แล้วหุ้มด้วยขน เตะกันอย่าสนุกสนาน ซึ่งเกมนี้ถูกเรียกว่า ฮาร์ปาสตัม (Harpastum) โดยชาวโรมันได้นำเอาแบบอย่างมาจากกรีก ต้นศตวรรษที่11 ถึงพ.ศ.1589 ทหารโรมันได้มาปกครองอังกฤษตอนใต้ และได้นำเกมส์ฮาร์ปาสตัมซึ่งจำแบบอย่างของอีพิสไครอสของกรีกมาเผยแพร่ที่อังกฤษและมีการแข่งขัน นับเป็นสมาคมฟุตบอลของบรรพบุรุษโบราณที่ทันสมัยปีพ.ศ. 1743 ฟุตบอลถูกสั่งห้ามเล่นโดยกษัตริย์องค์ที่ 7 ของอังกฤษเพราะเห็นว่าเป็นเกมส์ที่หยาบคาย ต่อมาฟุตบอลได้แพร่หลายในโรงเรียนมหาวิทยาลัย และทั่วประเทศอังกฤษปี พ.ศ. 2409 พระนางเจ้าเอลิซาเบทได้ทรงสนับสนุนและทรงแต่งตั้งผู้จัดการทีมฟุตบอลและนักฟุตบอลที่มีชื่อเสียงของอังกฤษเป็นขุนนางหลายคนเกมส์ฟุตบอลได้กลับกลายเป็นกีฬาที่มีผู้นิยมมากที่สุดในโลกปี พ.ศ. 2224 ขุนนางชาวอังกฤษผู้มีความรู้ฟุตบอลอิตาเลียนได้พลิกประวัติศาสตร์ฟุตบอลป่าเถื่อนขณะนั้นให้เป็นเกมส์ที่มีกฎกติกาและเผยแพร่ไปทั่วอังกฤษ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2406 จนถึงปัจจุบัน


  
                                                       กติกาการเล่นฟุตบอล

กฎข้อที่ 1: สนามฟุตบอล

สนามฟุตบอลจะต้องเป็นสนามหญ้ารูปที่เหลี่ยมผืนผ้า และมีเส้นในสนามทั้งหมดเป็นสีขาว

กฎข้อที่ 2: ลูกฟุตบอล

ลูกฟุตบอล ต้องเป็นลูกกลม ทำมาจากหนัง หรือวัสดุอื่นตามความเหมาะสมและต้องไม่เป็นอันตรายต่อผู้เล่น

กฎข้อที่ 3: จำนวนผู้เล่น

ประกอบด้วยทีม 2 ทีม และแต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่นตัวจริงและตัวสำรอง ผู้เล่นตัวจริงจะเป็นผู้เล่นชุดแรกที่ลงสนาม ส่วนผู้เล่นตัวสำรองมีไว้เพื่อสับเปลี่ยนกับผู้เล่นตัวจริงในกรณีที่ผู้เล่นตัวจริงไม่สามารถเล่นได้หรือกรณีอื่นๆ ตามความเหมาะสมหรือตามแต่ดุลยพินิจของผู้จัดการทีม ( โดยการแข่งขันเพื่อจุดประสงค์ในการคว้าแชมป์จะเปลี่ยนได้ 3 คนเท่านั้น แต่ถ้าเป็นการแข่งขันกระชับมิตรหรือเฉลิมฉลองสร้างความสัมพันธ์จะมีการเปลี่ยนตัวไม่จำกัด ) ผู้เล่นตัวจริงที่ลงสนามต้องมีไม่ต่ำกว่า 7 คน และไม่เกิน11คน และหนึ่งในนั้นจะต้องมีผู้เล่นตำแหน่งผู้รักษาประตู 1 คน, ตัวสำรองสามารถมีได้ไม่เกิน 7 คน ถ้าเป็นการแข่งทั่วไป หรือเชื่อมความสัมพันธ์ สามารถกำหนดจำนวนตัวสำรองได้ โดยต้องแจ้งให้กรรมการทราบก่อนการแข่งขัน

กฎข้อที่ 4: อุปกรณ์การเล่น

ลูกฟุตบอล (ตามกฎข้อ 2) ใช้สำหรับเล่น 1 ลูก และ เครื่องแบบของนักกีฬ ทีมทั้ง 2 ทีมที่ลงแข่งขัน สมาชิกทุกคนในทีมยกเว้นผู้รักษาประตูจะต้องใส่ชุดแข่งขันสีเดียวกัน และทั้ง 2 ทีมจะต้องใส่ชุดแข่งที่มีสีตัดกันอย่างชัดเจน จะใส่ชุดที่มีโทนสีคล้ายกันไม่ได้ (เช่น ทีมหนึ่งใสชุดแข่งสีขาว อีกทีมหนึ่งใส่ชุดแข่งสีเหลือง) ผู้รักษาประตูจะต้องใส่ชุดแข่งที่มีสีไม่ซ้ำกับผู้เล่นทั้ง 2 ทีม และนักกีฬาที่ทำการแข่งขันจะต้องใส่รองเท้า (ในปัจจุบันไม่อนุญาตให้นักกีฬาใช้เท้าเปล่าในการเล่น)

กฎข้อที่ 5: ผู้ตัดสิน (ฟุตบอล)

โดยกรรมการจะมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
  • ปฏิบัติตามกติกาข้อ ควบคุมการแข่งขันโดยมีผู้ช่วยผู้ตัดสิน กรรมการผู้ตัดสินคนที่ 4 คอยให้ความร่วมมือช่วยเหลือตามความเหมาะสม
  • แน่ใจว่าลูกบอลทุกลูกทีใช้ในการแข่งขันถูกต้องตามข้อกำหนดของกติกาข้อ 2
  • แน่ใจว่าอุปกรณ์ของผู้เล่นถูกต้องตามข้อกำหนดของกติกาข้อ 4
  • ทำหน้าที่รักษาเวลาการแข่งขัน และเขียนรายงานการแข่งขัน
  • พิจารณาการสั่งหยุดการเล่น หยุดการเล่นชั่วคราว หรือยุติการแข่งขัน (Suspends or Terminate the Match) ทุกกรณีของการกระทำผิดกติกาการแข่งขัน
  • พิจารณาการสั่งหยุดการเล่น หยุดการเล่นชั่วคราว หรือยุติการแข่งขัน เนื่องจากมีสิ่งรบกวนจากภายนอกทุกชนิดทำการรบกวนการแข่งขัน
  • สั่งหยุดการเล่นถ้าดุลยพินิจของเขาเห็นว่าผู้เล่นบาดเจ็บหนักและแน่ใจว่าเคลื่อนย้าออกจากสนามแข่งขันไปแล้ว ผู้เล่นที่บาดเจ็บนั้นจะกลับเข้าไปในสนามแข่งได้อีกเอภายหลังการเริ่มเล่นใหม่ได้เริ่มเล่นไปแล้ว.
  • อนุญาตให้การเล่นดำเนินต่อไปจนกว่าลูกบอลจะอยู่นอกการเล่นถ้าเห็นว่าผู้เล่นบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย
  • แน่ใจว่าผู้เล่นที่มีเลือดไหลออกจากบาดแผลได้ออกจากสนามแข่นขันแล้ว และผู้เล่นนั้นจะกลับไปเล่นใหม่ได้เมื่อได้รับสัญญาณจากผู้ตัดสิน ซึ่งต้องพึงพอใจแล้วว่าเลือดที่ไหลออกมานั้นได้หยุดแล้ว
  • อนุญาตให้การเล่นดำเนินต่อไปเมื่อทีมที่ถูกกระทำผิดจะเกิดประโยชน์จากการได้เปรียบ และถ้าการคาดคะเนในการให้ได้เปรียบนั้นไม่เป็นตามที่คาดไว้ในขณะนั้น กาจะลงโทษตามความผิดที่เกิดขึ้นแต่แรกนั้น
  • ลงโทษความผิดที่ร้ายแรงกว่าในกรณีที่ผู้เล่นทำผิดมากกว่า 1 อย่าง ภายในเวลาเดียวกัน
  • ควบคุมระเบียบวินัยโดยแสดงการต่อต้านต่อผู้เล่นที่กระทำผิดต้องได้รับการคาดโทษ และการให้ออกจาการแข่งขัน เขาไม่ได้ถูกบังคับว่าต้องกระทำในทันทีทันใด แต่ต้องทำทันทีลูกบอลอยู่นอกการเล่นแล้ว
  • ทำหน้าที่แสดงการต่อต้านเจ้าหน้าที่ทีมที่ขาดความรับผิดชอบในการควบคุมการประพฤติปฏิบัติตนเองที่ดี และเขาอาจพิจารณาให้อกจากสนามแข่งขันและบริเวณแวดล้อมในทันที
  • ปฏิบัติตามการช่วยเหลือของผู้ช่วยผู้ตัดสินตามเหตุการณ์ที่ตนเองมองไม่เห็น
  • แน่ใจว่าไม่มีบุคคลอื่น ๆ ที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปในสนามแข่งขัน
  • ให้ทำการเริ่มเล่นได้หยุดลง
  • เขียนรายงานการแข่งขันเสนอต่อผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ที่ได้แต่งตั้งไว้ ซึ่งรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการควบคุมระเบียบทุกอย่างที่กระทำต่อผู้เล่นและ /หรือเจ้าหน้าที่ทีมและเหตุการณ์ณ์อื่น ๆ ทักกรณีที่เกิดขึ้นก่อนการแข่งขัน ระหว่างการแข่งขัน หรือภายหลังการแข่งขัน
  • ผู้ตัดสินจะมีสิทธิ์ให้ใบเหลืองหรือใบแดงตามความเหมาะสมต่อเมื่อผู้เล่นทำผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามรุนแรงหรือแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมต่อผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามหรือผู้ตัดสินโดยตรงหรือกรณีอื่นๆแต่อย่างใด

กฎข้อที่ 6: ผู้ช่วยกรรมการ

ผู้ช่วยผู้ตัดสินมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้ตัดสินในการควบคุมการแข่งขันให้เป็นไปตามกติกาการแข่งขัน และในกรณีพิเศษผู้ช่วยผู้ตัดสินอาจเข้าไปในสนามได้เพื่อช่วยควบคุมระยะ 9.15 เมตร ถ้าผู้ช่วยผู้ตัดสินเข้าไปเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตัดสินเกินสมควร หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมผู้ตัดสินสามารถปลดเขาออกจากหน้าที่ และเขียนรายงานเสนอต่อผู้มีอำนาจหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งไว้
Image result for กรรมการฟุตบอล

กฎข้อที่ 7: ระยะเวลาการแข่งขัน

ช่วงเวลาของการแข่งขัน (Periods of Play) การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ครึ่งเวลา ๆ ละ 45 นาทีเท่ากัน การรักษาเวลาเป็นหน้าที่ของผู้รักษาเวลา ซึ่งมีหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกติกาข้อ 7 ระยะเวลาของการแข่งขันแต่ละครึ่งเวลา อาจจะมีการเพิ่มการเตะโทษ ณ จุดโทษ
เวลานอก (Time-out) ทั้งสองทีมมีสิทธิ์ขอเวลานอกเป็นระยะเวลา 1 นาที ได้ในแต่ละครึ่งเวลา ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. ผู้ฝึกสอนเท่านั้นที่มีสิทธิ์ในการขอเวลานอก 1 นาที จากผู้รักษาเวลา
2. การขอเวลานอก 1 สามารถร้องขอได้ตลอดเวลา แต่จะให้เวลานอก ก็ต่อเมื่อทีมได้เป็นฝ่ายครอบครองบอล (ส่งลูกบอลเข้าเล่น)
3. ผู้รักษาเวลาต้องแสดงการอนุญาตสำหรับการขอเวลานอกของทีม เมื่อลูกบอลอยู่นอกการเล่นโดยการใช้เสียงสัญญาณอื่น ๆ ที่แตกต่างจากเสียงสัญญาณนกหวีดของผู้ตัดสินที่ใช้อยู่
4. เมื่ออนุญาตให้เป็นเวลานอก ผู้เล่นทุกคนต้องรวมกันอยู่ในสนามแข่งขัน ถ้าต้องได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ทีม จะกระทำได้เฉพาะที่เส้นข้างบริเวณด้านหน้าที่นั่งสำรองของทีมตนเอง ผู้เล่นทุกคนต้องไม่ออกไปนอกสนามแข่งขัน เช่นเดียวกันกับเจ้าหน้าที่ทีมที่ต้องให้คำแนะนำจะต้องไม่เข้าไปในสนามแข่งขัน
5. ถ้าทีมไม่ใช่สิทธิ์ในการขอเวลานอกในครึ่งเวลาแรก จะไม่สามารถนำไปทดแทนในครึ่งเวลาหลังได้ พักครึ่งเวลา (Half - time Interval) การพักครึ่งเวลาต้องไม่เกิน 15 นาที
ข้อตกลง (Decisions)
1. ถ้าไม่มีผู้รักษาเวลา ผู้ฝึกสอนต้องร้องขอเวลานอกได้จากผู้ตัดสิน
2. ถ้าระเบียบการแข่งขันระบุให้มีการต่อเวลาพิเศษ ในกรณีที่การแข่งขันในเวลาปกติ ถ้าผลการแข่งขันจบลงด้วยการเสมอกัน การแข่งขันในระหว่างการต่อเวลาพิเศษของการแข่งขัน จะไม่มีการขอเวลานอก

กฎข้อที่ 8: การเริ่มต้นการแข่งขัน

1.เมื่อเริ่มเล่น ในการที่จะเลือกแดนหรือเลือกเตะเริ่มเล่นก่อน ให้ตัดสินโดยการเสี่ยงเหรียญ (โยนหัว-ก้อย) ฝ่ายที่ชนะการเสี่ยงเป็นผู้มีสิทธิ์ในการเลือกแดนหรือเลือกเตะ
2.เมื่อได้ประตู การเล่นต้องเริ่มต้นใหม่ ในทำนองเดียวกัน โดยผู้เล่นคนหนึ่งของฝ่ายที่เสียประตู เป็นผู้เตะเริ่มเล่น
3.เมื่อหมดครึ่งเวลา การตั้งต้นเล่นใหม่หลังจากได้หยุดพักระหว่างครึ่งเวลาแล้ว ให้เปลี่ยนแดนและให้ผู้เล่นคนหนึ่งของชุดฝ่ายตรงข้ามที่มิได้เตะเริ่มเล่นในตอนแรก เป็นผู้เตะเริ่มเล่น

กฎข้อที่ 9: บอลออกนอกสนาม

ลูกบอลจะอยู่นอกการเล่นเมื่อ
1.ลูกบอลได้ผ่านเส้นประตูหรือเส้นข้างไม่ว่าจะเป็นบนพื้นดินหรือในอากาศออกไปทั้งลูก
2.ผู้ตัดสินสั่งหยุดการเล่นลูกบอลอยู่ในการเล่น (Ball In Play) ลูกบอลอยู่ในการเล่นตลอดเวลารวมทั้งในขณะที่กระดอนจากเสาประตู คานประตู หรือธงมุมสนาม และเข้ามาในสนามแข่งขัน

กฎข้อที่ 10: วิธีนับคะแนน

ถ้าลูกฟุตบอลลอยข้ามเส้นประตูเต็มใบ โดยการเล่นลูกที่ถูกกติกา (ได้แก่การใช้เท้าหรือศีรษะ) ถือว่าได้ 1 คะแนน (ในภาษาฟุตบอลเรียกว่า 1 ประตู) อย่างไรก็ดี มักมีคนเข้าใจผิดว่าการได้คะแนน คือ การที่ลูกบอลสัมผัสกับตาข่ายหลังเส้นประตู ซึ่งจริงๆ แล้วตาข่ายไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกติกาฟุตบอล มีไว้เพื่อรองรับลูกบอลที่เข้าประตูแล้วเท่านั้น

กฎข้อที่ 11: การล้ำหน้า

1.ผู้เล่นจะอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้า ถ้าเขาอยู่ใกล้เส้นประตูของคู่ต่อสู้กว่าลูกบอล
2.ผู้เล่นจะถูกตัดสินให้เป็นเล่นล้ำหน้าและจะถูกลงโทษ ถ้าผู้ตัดสินพิจารณาเห็นว่าขณะที่ลูกโดนหรือลูกเล่นโดยผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน
3.ผู้เล่นจะยังไม่ถูกตัดสินว่าล้ำหน้า ถ้า
    -เขาเพียงแต่อยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าเท่านั้น หรือ
    -เขาได้รับลูกโดยตรงจากการเตะจากประตู การทุ่มจากเส้นข้าง การเตะจากมุม หรือ การปล่อยลูกจากมือโดยผู้ตัดสิน
    -ถ้าผู้เล่นถูกตัดสินให้เป็นเล่นล้ำหน้า ผู้ตัดสินจะให้คู่ต่อสู้ได้เตะโทษโดยอ้อม ณ ที่ซึ่งการละเมิดกติกาได้เกิดขึ้น

กฎข้อที่ 12: ฟาวล์

ผู้เล่นคนใดเจตนากระทำผิดข้อหนึ่งข้อใดใน 9 ข้อ ดังต่อไปนี้
1.แตะ หรือ พยายามจะเตะคู่ต่อสู้
2.ขัดขาคู่ต่อสู้ คือทำหรือพยายามจะทำให้คู่ต่อสู้ล้มลงด้วยการใช้ขา หรือด้วยการหมอบลงข้างหน้าหรือข้างหลัง
3.กระโดดเข้าหาคู่ต่อสู้
4.ชนคู่ต่อสู้อย่างรุนแรง
5.ชนคู่ต่อสู้ข้างหลัง นอกจากคู่ต่อสู้นั้นเจตนากีดกัน
6.ทำร้าย หรือพยายามจะทำร้ายคู่ต่อสู้ หรือถ่มน้ำลายรดคู่ต่อสู้
7.ฉุด ดึง คู่ต่อสู้
8.ผลัก ดัน คู่ต่อสู้
9.เล่นด้วยมือ คือ ทุบ ต่อย ปัด เตะลูกด้วยมือ หรือแขน
Image result for SLIDING FOOTBALL

กฎข้อที่ 13: ฟรีคิก

การเตะฟรีคิกจะเกิดขึ้นต่อเมื่อผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามทำฟาวล์หรือล้ำหน้าตั้งแต่จุดที่ทำฟาวล์หรือตำแหน่งล้ำหน้า โดยจะผู้เล่นตั้งเตะลูกฟรีคิกตรงจุดที่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามทำฟาวล์หรือตำแหน่งล้ำหน้า
Image result for ronaldo free kick stance back view

กฎข้อที่ 14: ลูกโทษหรือการยิงจุดโทษ

การยิงจุดโทษในเวลาการแข่งขันจะเกิดขึ้นต่อเมื่อผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามทำฟาวล์ตั้งแต่ในเขตโทษ การยิงลูกโทษจะเป็นการให้ผู้เล่นยิงดวลตัวต่อตัวกับผู้รักษาประตูโดยที่ผู้เล่นคนอื่นที่ไม่ได้มีหน้าที่ยิงจุดโทษหรือไม่ใช่ผู้รักษาประตูที่จะต้องเซฟจุดโทษจะต้องอยู่บริเวณนอกเขตโทษจนกว่าผู้เล่นที่ยิงจุดโทษจะยิงประตูผู้เล่นคนอื่นจึงจะมีสิทธิ์วิ่งในเขตโทษได้
เมื่อต่อเวลาพิเศษ30นาทีแล้วไม่มีทีมทำประตูได้หรือเสมอจะทำการยิงลูกที่จุดโทษ โดยจะใช้ผู้เล่นยิงสลับกันฝั่งละ5คนเมื่อยิงครบแล้วยังหาผู้ชนะไม่ได้ก็จะยิงต่อไปจนมีผู้ชนะ โดยการยิงลูกจุดโทษนั้นเป็นวิธีสุดท้ายที่หาทีมชนะ
Image result for PENALTY SOCCER

กฎข้อที่ 15: การทุ่ม

การทุ่ม ขณะแข่งขันลูกฟุตบอลได้ออกเส้นข้างไปทั้งลูก ไม่ว่าจะกลิ้งไปบนพื้นสนามหรือลอยไปบนอากาศก็ตาม ให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเป็นฝ่ายได้ทุ่ม
-เท้าทั้งสองข้างต้องติดพื้นตลอดเวลาการทุ่ม
- ต้องทุ่มด้วยมือทั้งสอง ลูกบอลออกจากด้านหลังศีรษะ แขนทั้งสอง " ต้องผ่านศีรษะไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง "
- ด้านหน้าของร่างกายหันหน้าเข้าหาสนามด้านไหนให้ทุ่มไปทางนั้น
- ย่อทุ่มได้ แต่ห้ามนั่งทุ่ม
- บอลออกเส้นข้าง ณ จุดใด ให้ทุ่ม ณ จุดนั้น
- ณ จุดที่มือปล่อยบอล เท้าหรือตัวของผู้ทุ่ม ห้ามห่างจากเส้นข้างเกิน หนึ่งเมตร
- ฝ่ายรับต้องยืนห่างจากผู้ทุ่ม ในสนามแข่งขัน อย่างน้อย ๒ เมตร
- ทุ่มทีเดียว โดยไม่สัมผัสผู้เล่นฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง ไม่ถือว่าเป็นประตู
- รับบอลจากการทุ่ม ไม่มีการล้ำหน้า
- ทุ่มบอลคืนให้ผู้รักษาประตู ผู้รักษาประตูใช้มือรับ ให้เตะลูกโทษโดยอ้อม ณ จุดเกิดเหตุ ทันที

กฎข้อที่ 16: โกลคิก

คือ ลูกตั้งเตะจากเขตประตู โดยเมื่อลูกทั้งลูกได้ผ่านเส้นประตูออกไปนอกสนาม นอกจากจะผ่านไปในระหว่างเสาประตูไม่ว่าจะกลิ้งไปบนพื้นสนามหรือลอยไปในอากาศก็ตาม โดยฝ่ายรุกเป็นผู้ถูกลูกนั้นเป็นครั้งสุดท้าย ให้ผู้รักษาประตูเตะจากในกรอบเขตประตู

กฎข้อที่ 17: การเตะมุม

มื่อลูกทั้งลูกได้ผ่านเส้นประตูออกไปนอกสนาม นอกจากจะผ่านไปในระหว่างเสาประตูไม่ว่าจะกลิ้งไปบนพื้นสนามหรือลอยไปในอากาศก็ตาม โดยฝ่ายรับเป็นผู้ถูกลูกนั้นเป็นครั้งสุดท้าย ให้ฝ่ายรุกนำลูกไปวางเตะภายในเขตมุม ณ ธงมุมใกล้กับที่ลูกได้ออกไปและต้องไม่ทำให้คันธงเคลื่อนที่ ในการเตะจากมุมนี้ ถ้าเตะทีเดียวลูกตรงเข้าประตูให้นับว่าได้ประตู ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามกับผู้เตะจากมุมนั้นจะเข้ามาอยู่ใกล้ลูกในขณะที่ผู้เตะกำลังจะเตะลูกน้อยกว่า 10 หลา ไม่ได้เว้นเสียแต่ผู้เตะจะได้เตะให้ลูกไปได้ไกลอย่างน้อยเท่ากับระยะรอบวงของลูกจึงจะเล่นต่อไปได้ จะเล่นลูกนั้นซ้ำอีกไม่ได้จนกว่าลูกนั้นจะได้ถูกหรือเล่นโดยผู้เล่นคนใดคนหนึ่งเสียก่อน
Image result for CORNER KICK

ขอบคุณข้อมูลจาก

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9F%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2