จุดเริ่มต้นของฟุตบอล
ฟุตบอลถือกำเนิดครั้งแรกที่ประเทศกรีกโบราณซึ่งเรียกว่า "อีพิสไครอส" (Episkiyros) ประเทศแถบยุโรปส่วนใหญ่เรียกฟุตบอลว่า "ซ็อคเกอร์" (Soccer) เพราะคำว่าฟุตบอลไปซ้ำกับคำว่า อเมริกันฟุตบอล และในสมัยโรมัน ชาวโรมันได้นำกระเพาะปัสสาวะวัว (Ox's Bladder) แล้วหุ้มด้วยขน เตะกันอย่าสนุกสนาน ซึ่งเกมนี้ถูกเรียกว่า ฮาร์ปาสตัม (Harpastum) โดยชาวโรมันได้นำเอาแบบอย่างมาจากกรีก ต้นศตวรรษที่11 ถึงพ.ศ.1589 ทหารโรมันได้มาปกครองอังกฤษตอนใต้ และได้นำเกมส์ฮาร์ปาสตัมซึ่งจำแบบอย่างของอีพิสไครอสของกรีกมาเผยแพร่ที่อังกฤษและมีการแข่งขัน นับเป็นสมาคมฟุตบอลของบรรพบุรุษโบราณที่ทันสมัยปีพ.ศ. 1743 ฟุตบอลถูกสั่งห้ามเล่นโดยกษัตริย์องค์ที่ 7 ของอังกฤษเพราะเห็นว่าเป็นเกมส์ที่หยาบคาย ต่อมาฟุตบอลได้แพร่หลายในโรงเรียนมหาวิทยาลัย และทั่วประเทศอังกฤษปี พ.ศ. 2409 พระนางเจ้าเอลิซาเบทได้ทรงสนับสนุนและทรงแต่งตั้งผู้จัดการทีมฟุตบอลและนักฟุตบอลที่มีชื่อเสียงของอังกฤษเป็นขุนนางหลายคนเกมส์ฟุตบอลได้กลับกลายเป็นกีฬาที่มีผู้นิยมมากที่สุดในโลกปี พ.ศ. 2224 ขุนนางชาวอังกฤษผู้มีความรู้ฟุตบอลอิตาเลียนได้พลิกประวัติศาสตร์ฟุตบอลป่าเถื่อนขณะนั้นให้เป็นเกมส์ที่มีกฎกติกาและเผยแพร่ไปทั่วอังกฤษ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2406 จนถึงปัจจุบัน
กติกาการเล่นฟุตบอล
กฎข้อที่ 1: สนามฟุตบอล
สนามฟุตบอลจะต้องเป็นสนามหญ้ารูปที่เหลี่ยมผืนผ้า และมีเส้นในสนามทั้งหมดเป็นสีขาว
กฎข้อที่ 2: ลูกฟุตบอล
ลูกฟุตบอล ต้องเป็นลูกกลม ทำมาจากหนัง หรือวัสดุอื่นตามความเหมาะสมและต้องไม่เป็นอันตรายต่อผู้เล่น
กฎข้อที่ 3: จำนวนผู้เล่น
ประกอบด้วยทีม 2 ทีม และแต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่นตัวจริงและตัวสำรอง ผู้เล่นตัวจริงจะเป็นผู้เล่นชุดแรกที่ลงสนาม ส่วนผู้เล่นตัวสำรองมีไว้เพื่อสับเปลี่ยนกับผู้เล่นตัวจริงในกรณีที่ผู้เล่นตัวจริงไม่สามารถเล่นได้หรือกรณีอื่นๆ ตามความเหมาะสมหรือตามแต่ดุลยพินิจของผู้จัดการทีม ( โดยการแข่งขันเพื่อจุดประสงค์ในการคว้าแชมป์จะเปลี่ยนได้ 3 คนเท่านั้น แต่ถ้าเป็นการแข่งขันกระชับมิตรหรือเฉลิมฉลองสร้างความสัมพันธ์จะมีการเปลี่ยนตัวไม่จำกัด ) ผู้เล่นตัวจริงที่ลงสนามต้องมีไม่ต่ำกว่า 7 คน และไม่เกิน11คน และหนึ่งในนั้นจะต้องมีผู้เล่นตำแหน่งผู้รักษาประตู 1 คน, ตัวสำรองสามารถมีได้ไม่เกิน 7 คน ถ้าเป็นการแข่งทั่วไป หรือเชื่อมความสัมพันธ์ สามารถกำหนดจำนวนตัวสำรองได้ โดยต้องแจ้งให้กรรมการทราบก่อนการแข่งขัน
กฎข้อที่ 4: อุปกรณ์การเล่น
ลูกฟุตบอล (ตามกฎข้อ 2) ใช้สำหรับเล่น 1 ลูก และ เครื่องแบบของนักกีฬา ทีมทั้ง 2 ทีมที่ลงแข่งขัน สมาชิกทุกคนในทีมยกเว้นผู้รักษาประตูจะต้องใส่ชุดแข่งขันสีเดียวกัน และทั้ง 2 ทีมจะต้องใส่ชุดแข่งที่มีสีตัดกันอย่างชัดเจน จะใส่ชุดที่มีโทนสีคล้ายกันไม่ได้ (เช่น ทีมหนึ่งใสชุดแข่งสีขาว อีกทีมหนึ่งใส่ชุดแข่งสีเหลือง) ผู้รักษาประตูจะต้องใส่ชุดแข่งที่มีสีไม่ซ้ำกับผู้เล่นทั้ง 2 ทีม และนักกีฬาที่ทำการแข่งขันจะต้องใส่รองเท้า (ในปัจจุบันไม่อนุญาตให้นักกีฬาใช้เท้าเปล่าในการเล่น)
กฎข้อที่ 5: ผู้ตัดสิน (ฟุตบอล)
โดยกรรมการจะมีหน้าที่ดังต่อไปนี้
- ปฏิบัติตามกติกาข้อ ควบคุมการแข่งขันโดยมีผู้ช่วยผู้ตัดสิน กรรมการผู้ตัดสินคนที่ 4 คอยให้ความร่วมมือช่วยเหลือตามความเหมาะสม
- แน่ใจว่าลูกบอลทุกลูกทีใช้ในการแข่งขันถูกต้องตามข้อกำหนดของกติกาข้อ 2
- แน่ใจว่าอุปกรณ์ของผู้เล่นถูกต้องตามข้อกำหนดของกติกาข้อ 4
- ทำหน้าที่รักษาเวลาการแข่งขัน และเขียนรายงานการแข่งขัน
- พิจารณาการสั่งหยุดการเล่น หยุดการเล่นชั่วคราว หรือยุติการแข่งขัน (Suspends or Terminate the Match) ทุกกรณีของการกระทำผิดกติกาการแข่งขัน
- พิจารณาการสั่งหยุดการเล่น หยุดการเล่นชั่วคราว หรือยุติการแข่งขัน เนื่องจากมีสิ่งรบกวนจากภายนอกทุกชนิดทำการรบกวนการแข่งขัน
- สั่งหยุดการเล่นถ้าดุลยพินิจของเขาเห็นว่าผู้เล่นบาดเจ็บหนักและแน่ใจว่าเคลื่อนย้าออกจากสนามแข่งขันไปแล้ว ผู้เล่นที่บาดเจ็บนั้นจะกลับเข้าไปในสนามแข่งได้อีกเอภายหลังการเริ่มเล่นใหม่ได้เริ่มเล่นไปแล้ว.
- อนุญาตให้การเล่นดำเนินต่อไปจนกว่าลูกบอลจะอยู่นอกการเล่นถ้าเห็นว่าผู้เล่นบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย
- แน่ใจว่าผู้เล่นที่มีเลือดไหลออกจากบาดแผลได้ออกจากสนามแข่นขันแล้ว และผู้เล่นนั้นจะกลับไปเล่นใหม่ได้เมื่อได้รับสัญญาณจากผู้ตัดสิน ซึ่งต้องพึงพอใจแล้วว่าเลือดที่ไหลออกมานั้นได้หยุดแล้ว
- อนุญาตให้การเล่นดำเนินต่อไปเมื่อทีมที่ถูกกระทำผิดจะเกิดประโยชน์จากการได้เปรียบ และถ้าการคาดคะเนในการให้ได้เปรียบนั้นไม่เป็นตามที่คาดไว้ในขณะนั้น กาจะลงโทษตามความผิดที่เกิดขึ้นแต่แรกนั้น
- ลงโทษความผิดที่ร้ายแรงกว่าในกรณีที่ผู้เล่นทำผิดมากกว่า 1 อย่าง ภายในเวลาเดียวกัน
- ควบคุมระเบียบวินัยโดยแสดงการต่อต้านต่อผู้เล่นที่กระทำผิดต้องได้รับการคาดโทษ และการให้ออกจาการแข่งขัน เขาไม่ได้ถูกบังคับว่าต้องกระทำในทันทีทันใด แต่ต้องทำทันทีลูกบอลอยู่นอกการเล่นแล้ว
- ทำหน้าที่แสดงการต่อต้านเจ้าหน้าที่ทีมที่ขาดความรับผิดชอบในการควบคุมการประพฤติปฏิบัติตนเองที่ดี และเขาอาจพิจารณาให้อกจากสนามแข่งขันและบริเวณแวดล้อมในทันที
- ปฏิบัติตามการช่วยเหลือของผู้ช่วยผู้ตัดสินตามเหตุการณ์ที่ตนเองมองไม่เห็น
- แน่ใจว่าไม่มีบุคคลอื่น ๆ ที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปในสนามแข่งขัน
- ให้ทำการเริ่มเล่นได้หยุดลง
- เขียนรายงานการแข่งขันเสนอต่อผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ที่ได้แต่งตั้งไว้ ซึ่งรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการควบคุมระเบียบทุกอย่างที่กระทำต่อผู้เล่นและ /หรือเจ้าหน้าที่ทีมและเหตุการณ์ณ์อื่น ๆ ทักกรณีที่เกิดขึ้นก่อนการแข่งขัน ระหว่างการแข่งขัน หรือภายหลังการแข่งขัน
- ผู้ตัดสินจะมีสิทธิ์ให้ใบเหลืองหรือใบแดงตามความเหมาะสมต่อเมื่อผู้เล่นทำผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามรุนแรงหรือแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสมต่อผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามหรือผู้ตัดสินโดยตรงหรือกรณีอื่นๆแต่อย่างใด
กฎข้อที่ 6: ผู้ช่วยกรรมการ
ผู้ช่วยผู้ตัดสินมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้ตัดสินในการควบคุมการแข่งขันให้เป็นไปตามกติกาการแข่งขัน และในกรณีพิเศษผู้ช่วยผู้ตัดสินอาจเข้าไปในสนามได้เพื่อช่วยควบคุมระยะ 9.15 เมตร ถ้าผู้ช่วยผู้ตัดสินเข้าไปเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตัดสินเกินสมควร หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมผู้ตัดสินสามารถปลดเขาออกจากหน้าที่ และเขียนรายงานเสนอต่อผู้มีอำนาจหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งไว้
กฎข้อที่ 7: ระยะเวลาการแข่งขัน
ช่วงเวลาของการแข่งขัน (Periods of Play) การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ครึ่งเวลา ๆ ละ 45 นาทีเท่ากัน การรักษาเวลาเป็นหน้าที่ของผู้รักษาเวลา ซึ่งมีหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกติกาข้อ 7 ระยะเวลาของการแข่งขันแต่ละครึ่งเวลา อาจจะมีการเพิ่มการเตะโทษ ณ จุดโทษ
เวลานอก (Time-out) ทั้งสองทีมมีสิทธิ์ขอเวลานอกเป็นระยะเวลา 1 นาที ได้ในแต่ละครึ่งเวลา ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
1. ผู้ฝึกสอนเท่านั้นที่มีสิทธิ์ในการขอเวลานอก 1 นาที จากผู้รักษาเวลา
2. การขอเวลานอก 1 สามารถร้องขอได้ตลอดเวลา แต่จะให้เวลานอก ก็ต่อเมื่อทีมได้เป็นฝ่ายครอบครองบอล (ส่งลูกบอลเข้าเล่น)
3. ผู้รักษาเวลาต้องแสดงการอนุญาตสำหรับการขอเวลานอกของทีม เมื่อลูกบอลอยู่นอกการเล่นโดยการใช้เสียงสัญญาณอื่น ๆ ที่แตกต่างจากเสียงสัญญาณนกหวีดของผู้ตัดสินที่ใช้อยู่
4. เมื่ออนุญาตให้เป็นเวลานอก ผู้เล่นทุกคนต้องรวมกันอยู่ในสนามแข่งขัน ถ้าต้องได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ทีม จะกระทำได้เฉพาะที่เส้นข้างบริเวณด้านหน้าที่นั่งสำรองของทีมตนเอง ผู้เล่นทุกคนต้องไม่ออกไปนอกสนามแข่งขัน เช่นเดียวกันกับเจ้าหน้าที่ทีมที่ต้องให้คำแนะนำจะต้องไม่เข้าไปในสนามแข่งขัน
5. ถ้าทีมไม่ใช่สิทธิ์ในการขอเวลานอกในครึ่งเวลาแรก จะไม่สามารถนำไปทดแทนในครึ่งเวลาหลังได้ พักครึ่งเวลา (Half - time Interval) การพักครึ่งเวลาต้องไม่เกิน 15 นาที
ข้อตกลง (Decisions)
1. ถ้าไม่มีผู้รักษาเวลา ผู้ฝึกสอนต้องร้องขอเวลานอกได้จากผู้ตัดสิน
2. ถ้าระเบียบการแข่งขันระบุให้มีการต่อเวลาพิเศษ ในกรณีที่การแข่งขันในเวลาปกติ ถ้าผลการแข่งขันจบลงด้วยการเสมอกัน การแข่งขันในระหว่างการต่อเวลาพิเศษของการแข่งขัน จะไม่มีการขอเวลานอก
กฎข้อที่ 8: การเริ่มต้นการแข่งขัน
1.เมื่อเริ่มเล่น ในการที่จะเลือกแดนหรือเลือกเตะเริ่มเล่นก่อน ให้ตัดสินโดยการเสี่ยงเหรียญ (โยนหัว-ก้อย) ฝ่ายที่ชนะการเสี่ยงเป็นผู้มีสิทธิ์ในการเลือกแดนหรือเลือกเตะ
2.เมื่อได้ประตู การเล่นต้องเริ่มต้นใหม่ ในทำนองเดียวกัน โดยผู้เล่นคนหนึ่งของฝ่ายที่เสียประตู เป็นผู้เตะเริ่มเล่น
3.เมื่อหมดครึ่งเวลา การตั้งต้นเล่นใหม่หลังจากได้หยุดพักระหว่างครึ่งเวลาแล้ว ให้เปลี่ยนแดนและให้ผู้เล่นคนหนึ่งของชุดฝ่ายตรงข้ามที่มิได้เตะเริ่มเล่นในตอนแรก เป็นผู้เตะเริ่มเล่น
กฎข้อที่ 9: บอลออกนอกสนาม
ลูกบอลจะอยู่นอกการเล่นเมื่อ
1.ลูกบอลได้ผ่านเส้นประตูหรือเส้นข้างไม่ว่าจะเป็นบนพื้นดินหรือในอากาศออกไปทั้งลูก
2.ผู้ตัดสินสั่งหยุดการเล่นลูกบอลอยู่ในการเล่น (Ball In Play) ลูกบอลอยู่ในการเล่นตลอดเวลารวมทั้งในขณะที่กระดอนจากเสาประตู คานประตู หรือธงมุมสนาม และเข้ามาในสนามแข่งขัน
กฎข้อที่ 10: วิธีนับคะแนน
ถ้าลูกฟุตบอลลอยข้ามเส้นประตูเต็มใบ โดยการเล่นลูกที่ถูกกติกา (ได้แก่การใช้เท้าหรือศีรษะ) ถือว่าได้ 1 คะแนน (ในภาษาฟุตบอลเรียกว่า 1 ประตู) อย่างไรก็ดี มักมีคนเข้าใจผิดว่าการได้คะแนน คือ การที่ลูกบอลสัมผัสกับตาข่ายหลังเส้นประตู ซึ่งจริงๆ แล้วตาข่ายไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกติกาฟุตบอล มีไว้เพื่อรองรับลูกบอลที่เข้าประตูแล้วเท่านั้น
กฎข้อที่ 11: การล้ำหน้า
1.ผู้เล่นจะอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้า ถ้าเขาอยู่ใกล้เส้นประตูของคู่ต่อสู้กว่าลูกบอล
2.ผู้เล่นจะถูกตัดสินให้เป็นเล่นล้ำหน้าและจะถูกลงโทษ ถ้าผู้ตัดสินพิจารณาเห็นว่าขณะที่ลูกโดนหรือลูกเล่นโดยผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน
3.ผู้เล่นจะยังไม่ถูกตัดสินว่าล้ำหน้า ถ้า
-เขาเพียงแต่อยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าเท่านั้น หรือ
-เขาได้รับลูกโดยตรงจากการเตะจากประตู การทุ่มจากเส้นข้าง การเตะจากมุม หรือ การปล่อยลูกจากมือโดยผู้ตัดสิน
-ถ้าผู้เล่นถูกตัดสินให้เป็นเล่นล้ำหน้า ผู้ตัดสินจะให้คู่ต่อสู้ได้เตะโทษโดยอ้อม ณ ที่ซึ่งการละเมิดกติกาได้เกิดขึ้น
กฎข้อที่ 12: ฟาวล์
ผู้เล่นคนใดเจตนากระทำผิดข้อหนึ่งข้อใดใน 9 ข้อ ดังต่อไปนี้
1.แตะ หรือ พยายามจะเตะคู่ต่อสู้
2.ขัดขาคู่ต่อสู้ คือทำหรือพยายามจะทำให้คู่ต่อสู้ล้มลงด้วยการใช้ขา หรือด้วยการหมอบลงข้างหน้าหรือข้างหลัง
3.กระโดดเข้าหาคู่ต่อสู้
4.ชนคู่ต่อสู้อย่างรุนแรง
5.ชนคู่ต่อสู้ข้างหลัง นอกจากคู่ต่อสู้นั้นเจตนากีดกัน
6.ทำร้าย หรือพยายามจะทำร้ายคู่ต่อสู้ หรือถ่มน้ำลายรดคู่ต่อสู้
7.ฉุด ดึง คู่ต่อสู้
8.ผลัก ดัน คู่ต่อสู้
9.เล่นด้วยมือ คือ ทุบ ต่อย ปัด เตะลูกด้วยมือ หรือแขน
กฎข้อที่ 13: ฟรีคิก
การเตะฟรีคิกจะเกิดขึ้นต่อเมื่อผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามทำฟาวล์หรือล้ำหน้าตั้งแต่จุดที่ทำฟาวล์หรือตำแหน่งล้ำหน้า โดยจะผู้เล่นตั้งเตะลูกฟรีคิกตรงจุดที่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามทำฟาวล์หรือตำแหน่งล้ำหน้า
กฎข้อที่ 14: ลูกโทษหรือการยิงจุดโทษ
การยิงจุดโทษในเวลาการแข่งขันจะเกิดขึ้นต่อเมื่อผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามทำฟาวล์ตั้งแต่ในเขตโทษ การยิงลูกโทษจะเป็นการให้ผู้เล่นยิงดวลตัวต่อตัวกับผู้รักษาประตูโดยที่ผู้เล่นคนอื่นที่ไม่ได้มีหน้าที่ยิงจุดโทษหรือไม่ใช่ผู้รักษาประตูที่จะต้องเซฟจุดโทษจะต้องอยู่บริเวณนอกเขตโทษจนกว่าผู้เล่นที่ยิงจุดโทษจะยิงประตูผู้เล่นคนอื่นจึงจะมีสิทธิ์วิ่งในเขตโทษได้
เมื่อต่อเวลาพิเศษ30นาทีแล้วไม่มีทีมทำประตูได้หรือเสมอจะทำการยิงลูกที่จุดโทษ โดยจะใช้ผู้เล่นยิงสลับกันฝั่งละ5คนเมื่อยิงครบแล้วยังหาผู้ชนะไม่ได้ก็จะยิงต่อไปจนมีผู้ชนะ โดยการยิงลูกจุดโทษนั้นเป็นวิธีสุดท้ายที่หาทีมชนะ
กฎข้อที่ 15: การทุ่ม
การทุ่ม ขณะแข่งขันลูกฟุตบอลได้ออกเส้นข้างไปทั้งลูก ไม่ว่าจะกลิ้งไปบนพื้นสนามหรือลอยไปบนอากาศก็ตาม ให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามเป็นฝ่ายได้ทุ่ม
-เท้าทั้งสองข้างต้องติดพื้นตลอดเวลาการทุ่ม
- ต้องทุ่มด้วยมือทั้งสอง ลูกบอลออกจากด้านหลังศีรษะ แขนทั้งสอง " ต้องผ่านศีรษะไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง "
- ด้านหน้าของร่างกายหันหน้าเข้าหาสนามด้านไหนให้ทุ่มไปทางนั้น
- ย่อทุ่มได้ แต่ห้ามนั่งทุ่ม
- บอลออกเส้นข้าง ณ จุดใด ให้ทุ่ม ณ จุดนั้น
- ณ จุดที่มือปล่อยบอล เท้าหรือตัวของผู้ทุ่ม ห้ามห่างจากเส้นข้างเกิน หนึ่งเมตร
- ฝ่ายรับต้องยืนห่างจากผู้ทุ่ม ในสนามแข่งขัน อย่างน้อย ๒ เมตร
- ทุ่มทีเดียว โดยไม่สัมผัสผู้เล่นฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง ไม่ถือว่าเป็นประตู
- รับบอลจากการทุ่ม ไม่มีการล้ำหน้า
- ทุ่มบอลคืนให้ผู้รักษาประตู ผู้รักษาประตูใช้มือรับ ให้เตะลูกโทษโดยอ้อม ณ จุดเกิดเหตุ ทันที
กฎข้อที่ 16: โกลคิก
คือ ลูกตั้งเตะจากเขตประตู โดยเมื่อลูกทั้งลูกได้ผ่านเส้นประตูออกไปนอกสนาม นอกจากจะผ่านไปในระหว่างเสาประตูไม่ว่าจะกลิ้งไปบนพื้นสนามหรือลอยไปในอากาศก็ตาม โดยฝ่ายรุกเป็นผู้ถูกลูกนั้นเป็นครั้งสุดท้าย ให้ผู้รักษาประตูเตะจากในกรอบเขตประตู
กฎข้อที่ 17: การเตะมุม
เมื่อลูกทั้งลูกได้ผ่านเส้นประตูออกไปนอกสนาม นอกจากจะผ่านไปในระหว่างเสาประตูไม่ว่าจะกลิ้งไปบนพื้นสนามหรือลอยไปในอากาศก็ตาม โดยฝ่ายรับเป็นผู้ถูกลูกนั้นเป็นครั้งสุดท้าย ให้ฝ่ายรุกนำลูกไปวางเตะภายในเขตมุม ณ ธงมุมใกล้กับที่ลูกได้ออกไปและต้องไม่ทำให้คันธงเคลื่อนที่ ในการเตะจากมุมนี้ ถ้าเตะทีเดียวลูกตรงเข้าประตูให้นับว่าได้ประตู ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามกับผู้เตะจากมุมนั้นจะเข้ามาอยู่ใกล้ลูกในขณะที่ผู้เตะกำลังจะเตะลูกน้อยกว่า 10 หลา ไม่ได้เว้นเสียแต่ผู้เตะจะได้เตะให้ลูกไปได้ไกลอย่างน้อยเท่ากับระยะรอบวงของลูกจึงจะเล่นต่อไปได้ จะเล่นลูกนั้นซ้ำอีกไม่ได้จนกว่าลูกนั้นจะได้ถูกหรือเล่นโดยผู้เล่นคนใดคนหนึ่งเสียก่อน
ขอบคุณข้อมูลจาก
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9F%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น